Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน
ชนิดแบบสมบูรณ์ นอนโรงพยาบาล 1 คืน (Sleep test type 1 : full-night) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (sleep related breathing disorder, SBD) และโรคที่มีความผิดปกติในขณะหลับ อื่นๆ (sleep disorder) โดยมีการตรวจแบบทั้งคืน
13,988 บาท / ชุด
ราคาปกติ 16,000 บาท
การนอนเป็นสิ่งสำคัญ นอนดีทุกวันสุขภาพแข็งแรง
ใครมีปัญหานอนไม่หลับ รู้สึกเหมือนร่างกายต้องการที่นอน ตลอดเวลา
นอนกรนเสียงดัง สะดุ้งตื่น ตื่นมาไม่สดชื่น อย่าปล่อยให้เรื้อรัง
นอนกรน เป็นเรื่องธรรมดา จริงหรอ?
หลายคนรู้จักและคุ้นเคยดีกับการกรน อาจเป็นตัวคุณเอง หรือคนใกล้ชิด ที่เราพบว่าได้บ่อยๆว่ามีการกรนขณะหลับ จนพูดกันว่า “กรนธรรมดา” แต่จริงแล้ว เมื่อไรก็ตามที่กรน นั่นละไม่ธรรมดา เพียงแค่เป็นอาการที่พบได้บ่อย จนความไม่ธรรมดาถูกมองข้ามไป เพราะใครจะเชื่อว่านอนกรนเป็นอาการแสดงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
การกรน (snoring) เกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบ เนื่องจากขณะหลับ กล้ามเนื้อที่ใช้เปิดทางเดินหายใจส่วนต้นจะ หย่อนตัว หรือแม้แต่ลิ้น ลิ้นไก่ ก็มักตกไปด้านหลังของช่องปาก ทั้งหมดจึงทําให้ช่องทางเดินหายใจในคอตีบ ดังนั้น เมื่อหายใจ ผ่านช่องคอที่แคบ จึงทําให้เกิดเป็นเสียงกรน
อาการเช่นไรบ้าง ที่ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการนอนหลับ
-
อาการนอนกรน มีอาการหยุดหายใจขณะนอน (Obstructive sleep apnea)
-
เมื่อตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดมึนศีรษะ หรือมีอาการปากแห้งคอแห้งผิดปกติ
-
อาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน (Excessive daytime sleepiness)
-
มีอาการนอนละเมอ ขยับแขนขาผิดปกติ หรือออกเสียงในช่วงการนอน (REM sleep behavior disorder, RBD)
-
มีภาวะพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ (Parasomnias) เช่นลุกเดินจากที่นอนขณะหลับ หรือมีอาการขยับผิดปกติอื่น ๆ หรือสงสัยมีอาการชักขณะนอนหลับ (Nocturnal epilepsy)
-
มีอาการขากระตุก ทั้งขณะเข้านอนหรือขณะหลับไปแล้ว (Periodic limb movement disorder, PLMS)
-
มีอาการขาอยู่ไม่สุข ต้องขยับหรือลุกขึ้นเดินในช่วงก่อนเข้านอนหรือช่วงค่ำ (Restless legs syndrome)
-
มีอาการนอนกัดฟัน (Bruxism)
-
มีปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia)
-
มีปัญหาการหลับตื่นที่ผิดปกติ (Circadian rhythm sleep wake disorders)
-
มีปัญหาหลับกะทันหัน ในช่วงเวลากลางวัน (โรคลมหลับ) (Narcolepsy)
Promotion ตรวจคุณภาพการนอนหลับ Sleep Test
วิเคราะห์ผลการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ
ตรวจ Sleep test วัดอะไรได้บ้างระหว่างหลับ
การตรวจ sleep test จะมีการติดอุปกรณ์ ที่ใช้ติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายระหว่างหลับ
ได้แก่
1. คลื่นไฟฟ้าสมอง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของลูกตา: บอกความตื้นลึก หรือระยะของการนอนหลับ และแยกจากภาวะตื่น
2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : บอกว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ในช่วงที่หยุดหายใจ
3. ลมหายใจผ่านเข้าออกจมูกปาก และการเคลื่อนไหวของทรวงอกกับท้อง : ช่วยแยกระหว่างการหายใจที่ปกติ และการหยุดหายใจ รวมทั้งบอกชนิดของการหยุดหายใจ
4. ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด : บอกความรุนแรงของการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือด
ชนิดตรวจที่บ้าน Watch-PAT
เป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับจากสัญญาณชีพจรหลอดเลือดแดงที่ปลายนิ้วมือ และข้อมือ ลักษณะคล้ายนาฬิกาข้อมือขนาดใหญ่ โดยจะวัดค่าที่จำเป็นที่ใช้ในการรักษา ได้แก่
- ระยะการนอนหลับได้
- ดัชนีการหายใจถูกรบกวน (RDI)
- ดัชนีการหยุด หายใจและหายใจแผ่ว (AHI)
- ระดับออกซิเจนในเลือด
ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันพบว่า การตรวจด้วย Watch-PAT นั้นมีความแม่นยำในการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงใกลเคียงกับการตรวจการนอนหลับชนิดที่1แต่สะดวกกว่า โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านและไม่ต้องมีพยาบาลคอยเฝ้าขณะทำการตรวจทำให้ผู้ป่วยคุ้นชินกับสถานที่ จึงลดการคลาดเคลื่อนของผลการตรวจ
การตรวจการนอนหลับชนิดที่ 1 แบบสมบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดทั้งคืน
เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงสุด
1. ชนิดแบบสมบูรณ์ นอนโรงพยาบาล 1 คืน (Sleep test type 1 : full-night) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (sleep related breathing disorder, SBD) และโรคที่มีความผิดปกติในขณะหลับ อื่นๆ (sleep disorder) โดยมีการตรวจแบบทั้งคืน