033-038-888
นายแพทย์   ภูรินนท์  สรวงยานนท์

นายแพทย์ ภูรินนท์ สรวงยานนท์

  • ความเชี่ยวชาญ :
    ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
    อนุสาขากุมารศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์
  • สาขาความชำนาญ :
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • ความชำนาญพิเศษ :
    เด็ก
  • การศึกษา :
    แพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
  • วุฒิบัตร :
    กุมารศัลยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
  • ความสนใจทางด้านคลินิค :
    - เวชศาสตร์ชะลอวัย เวชศาสตร์ป้องกัน
    - เวชศาสตร์วิถีชีวิต
  • สมาชิก/กรรมการ :
    -
  • ผลงานวิจัย/สิ่งตีพิมพ์ :
    - Posterior acetabular arc angle of the femoral head assesses instability of posterior fracture-disl
    - Pediatric elbow measurement parameters: Evaluation of the six angles in inter- and intra-observer
    - Hyperextension following two different designs of fixed-bearing posterior-stabilized total knee ar

นัดหมายแพทย์

เลือกวัน ที่ระบุไว้ในปฎิทิน เพื่อดูตารางเวลาออกตรวจของแพทย์   *กรุณาทำการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน

วันที่แพทย์ออกตรวจ
พฤศจิกายน 2567
ตารางออกตรวจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567
เริ่ม สิ้นสุด
08:00 20:00

icon-articleบทความแพทย์

ดูทั้งหมด
เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน_2

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม
อ่านต่อ

icon-videoวิดีโอแพทย์

ดูทั้งหมด