"นอนกรน" เป็นเรื่องธรรมดาจริงหรอ?
(ศูนย์อายุรกรรม) ผู้เขียนบทความ : แพทย์หญิง ณิรัชดา ทรัพย์อนันต์
นอนกรน เป็นเรื่องธรรมดา จริงหรอ?
หลายคนรู้จักและคุ้นเคยดีกับการกรน อาจเป็นตัวคุณเอง หรือคนใกล้ชิด ที่เราพบว่าได้บ่อยๆว่ามีการกรนขณะหลับ จนพูดกันว่า “กรนธรรมดา” แต่จริงแล้ว เมื่อไรก็ตามที่กรน นั่นละไม่ธรรมดา เพียงแค่เป็นอาการที่พบได้บ่อย จนความไม่ธรรมดาถูก
มองข้ามไป เพราะใครจะเชื่อว่านอนกรนเป็นอาการแสดงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
การกรน (snoring) เกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบ เนื่องจากขณะหลับ กล้ามเนื้อที่ใช้เปิดทางเดินหายใจส่วนต้นจะ หย่อนตัว หรือแม้แต่ลิ้น ลิ้นไก่ ก็มักตกไปด้านหลังของช่องปาก ทั้งหมดจึงทําให้ช่องทางเดินหายใจในคอตีบ ดังนั้น เมื่อหายใจ ผ่านช่องคอที่แคบ จึงทําให้เกิดเป็นเสียงกรน
แต่การตีบแคบของช่องคอ จะมีระดับความผิดปกติที่ต่างกันออกไป ถ้าช่องคอแคบ แต่ตีบแคบต่อเนื่อง เสียงกรนจะดังต่อเนื่อง แต่ถ้าการตีบแคบมากขึ้น เสียงกรนจะเริ่มเบาลง จนเสียงหายเป็นระยะๆ ร่วมกับอาการสําลักอากาศ หรือเป็นเสียง “คร่อก” ตามมา อาการเหล่านี้จะพบในภาวะที่เรียกว่า ทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ หรือเรียกว่าภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ
จัดแบ่งความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้ 3 ระดับ คือ ระดับรุนแรงขั้นเริ่มต้น ปานกลาง และรุนแรงมาก โดยแบ่ง ตามดัชนีที่คํานวนจากจํานวนครั้งที่หายใจผิดปกติในแต่ละหนึ่งชั่วโมง
แต่ไม่ว่าจะความรุนแรงมากแค่ไหน ทั้งหมดก็จะมีผลให้คุณภาพการนอนลดลง เนื่องจาก ทําให้ ร่างกายขาดออกซิเจน เพราะ อากาศเข้าไปในทางเดินหายใจไม่ได้ เกิดกระบวนการอักเสบทั้งในระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ในหลอดเลือดของสมอง ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดอวัยวะต่างๆตีบ การทํางานของทุกระบบ แปรปรวน
สมองเองก็ไม่สามารถพักได้อย่างเต็มที่ มักสะดุ้งเพื่อพยายามให้ร่างกายเฮือกหายใจ โดยอาจตื่นขึ้นมาเลยหรือไม่ตื่นก็ได้ แต่ก็จะ ทําให้การหลับไม่ต่อเนื่อง ประสิทธิภาพการทํางานของสมองและความจําถดถอยแย่ลง
สอบถามหรือนัดหมายแพทย์ ได้ที่ อายุรกรรม ชั้น1 รพ.สมิติเวชชลบุรี โทร.033-038-988
โดย พญ.ณิรัชฎา ทรัพย์อนันต์ อายุรแพทย์สาขาประสาทวิทยา