033-038-888

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

(ศูนย์สุขภาพสตรี) ผู้เขียนบทความ : แพทย์หญิง กรพินธุ์ รัตนสัจธรรม

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)หรือช็อกโกแล็ตซีส(Chocolate cyst)

คือภาวะที่เยื่อบุมดลูกไปเจริญอยู่ที่ตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากภายในโพรงมดลูก พบได้บ่อยในช่วงวัยเจริญพันธุเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน เป็นสาเหตุที่สำคัญของอาการปวดระดู ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และภาวะมีบุตรยาก โรคเยื่อบุเจริญผิดที่นี้สามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ถึง2.5%

สาเหตุ

การเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการไหลย้อนกลับขงอระดูร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น พันุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันหรือสภาพแวดล้อมในช่องท้องผิดปกติ จึงพบมากในคนที่มีประจำเดือนเร็ว ประจำเดือนมาถี่หรือมามาก หรือคนที่มีมดลุกผิดปกติแต่กำเนิด

อาการที่พบบ่อยที่สุด

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • ปวดท้องประจำเดือน
  • ปวดตอนมีเพศสัมพันธ์
  • คลำได้ก้อนในท้องน้อย
  • มีบุตรยาก

แต่ในบางคนไม่มีอาการใดๆ เลย แต่ตรวจพบจากการตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวด์ โดยคนที่มีปัญหาปวดท้องน้อยเรื้อรังจะพบโรคนี้ได้สูงถึง 30-70 ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวแนะนำให้พบสูตินรีแพทย์เพื่อทารตรวจเพิ่มเติม

การรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ประกอบด้วย การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด ซึ่งพิจารณาเป็นรายๆ ไปขึ้นกับอาการที่มี ความต้องการมีบุตรและขนาดของซีสเป็นหลัก

  • ยาทุกชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคจะทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ในระหว่างการรักษาและหลังการรักษาด้วยยาแล้วก้ไม่ช่วยให้การตั้งครรภ์ดีขึ้น
  • การผ่าตัด โดยทั่วไปถ้าขนาดของก้อนซีสใหญ่เกิน 3 เซนติเมตร หรือต้องการมีบุตรการผ่าตัดถือเป็นการรักษาอันดับแรก
    • การผ่าตัดเปิดหน้าท้องเป็นการผ่าตัดแบบดั้งเดิม คือ แผลใหญ่ เจ็บแผลมากและอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
    • การผ่าตัดผ่านกล้อง ในปัจจจุบันมีการพัฒนาและมีประโยชน์มากกว่าคือ เห็นรอยโรคได้ชัดเจนกว่า ทำให้สามารถจี้ทำลายรอยโรคและตัดเอารอยโรคออกได้ดีกว่า บอบช้ำต่อเนื้อเยื้อข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม เกิดพังผืดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า วึ่งเป้นผลดีต่อการมีบุตรในอนาคต แผลเล็ก เจ็บน้อย นอนโรงพยาบาลสั่นกว่า การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วกว่า

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  หลังการรักษาไม่ว่าด้วยยาหรือการผ่าตัดมีโอกาสเป็นซ้ำได้ จึงแนะนำให้ตรวจติดตามทุกปี

 

พญ.กรพินธุ์  รัตนสัจธรรม

 





doctor icon
แนะนำแพทย์ ประจำศูนย์

icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด