แนะนำแพ็กเกจตรวจสุขภาพ และวิธีเลือกตรวจสุขภาพที่ไหนดี ?
(ศูนย์อายุรกรรม) ผู้เขียนบทความ : ผู้ดูแล
แนะนำแพ็กเกจตรวจสุขภาพ และวิธีเลือกตรวจสุขภาพที่ไหนดี ?
ด้วยรูปแบบของการใช้ชีวิตที่รีบเร่ง ทำให้การรับประทานอาหารเป็นไปด้วยความเร่งรีบหรือเป็นเมนูซ้ำ ๆ ทุกมื้อ รวมถึงมลพิษต่าง ๆ ที่เราต้องเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้สารพัด ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้ทุกปีคือการตรวจสุขภาพ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันความผิดปกติของร่างกายตนเอง มองเห็นถึงโอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ และหาทางป้องกันอย่างเหมาะสมต่อไป
โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Check-up จากโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี
P.1 สำหรับผู้ชายและผู้หญิง อายุ 15-25 ปี
- ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Exam)
- ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Glucose Level)
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจเอนไซม์ตับ Liver Enzymes (AST, ALT, ALP)
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- ตรวจองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition)
P.2 สำหรับผู้ชายและผู้หญิง อายุ 25-35 ปี
- ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Exam)
- ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Glucose Level)
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจเอนไซม์ตับ Liver Enzymes (AST, ALT, ALP)
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- การทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D)
- ตรวจคัดกรองเลือดและการอักเสบในอุจจาระ (Fecal Occult Blood & Inflammation Screening)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- อัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน-ล่าง (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition)
- ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและไขมันสะสมในเนื้อตับ (Fibro Scan)
P.3 สำหรับเพศหญิง อายุ 35 ปี ขึ้นไป
- ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Exam)
- ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Glucose Level)
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด Glycated Hb (HbA1C)
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของตับ Liver Function Test (AST, ALT, ALP, GGT, Total Bilirubin, Direct Bilirubin, Albumin, Globulin)
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- การทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยสารบ่งชี้ชนิดใหม่ (PIVKA-II and AFP)
- ตรวจคัดกรองเลือดและการอักเสบในอุจจาระ (Fecal Occult Blood & Inflammation Screening)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- อัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน-ล่าง (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัล (Digital Mammograms with Ultresound Breast)
- ตรวจองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition)
- ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index)
P.3 สำหรับเพศชาย อายุ 35 ปีขึ้นไป
- ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Exam)
- ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Glucose Level)
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด Glycated Hb (HbA1C)
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของตับ (AST, ALT,, ALP, GGT, Total Bilirubin, Direct Bilirubin, Albumin, Globulin)
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- การทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยสารบ่งชี้ชนิดใหม่ (PIVKA-II and AFP)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
- ตรวจคัดกรองเลือดและการอักเสบในอุจจาระ (Fecal Occult Blood & Inflammation Screening)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- อัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน-ล่าง (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition)
- ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle brachial index)
- ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและไขมันสะสมในเนื้อตับ (Fibro Scan)
P.4 สำหรับเพศหญิง อายุ 50 ปีขึ้นไป
- ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Exam)
- ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Glucose Level)
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด Glycated Hb (HbA1C)
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของตับ Liver Function Test (AST, ALT, ALP, GGT, Total Bilirubin, Direct Bilirubin, Albumin, Globulin)
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- การทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ฮอร์โมนไทรอยด์ Free T3 (Triiodothyronine Free T3)
- ฮอร์โมนไทรอยด์ Free T4 (Thyroxine Free T4)
- ประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจขาดเลือด (Troponin-l)
- ตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยสารบ่งชี้ชนิดใหม่ (PIVKA-II and AFP)
- ตรวจคัดกรองเลือดและการอักเสบในอุจจาระ (Fecal Occult Blood & Inflammation Screening)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- อัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน-ล่าง (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัล (Digital Mammograms with Ultresound Breast)
- ตรวจองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition)
- ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index)
- ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกบั้นเอวและสะโพก ( Bone Dens Lumbar Hip)
- ตรวจระดับแคลเซียมผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring)
- ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและไขมันสะสมในเนื้อตับ (Fibro Scan)
P.4 สำหรับเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
- กลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของตับ Liver Function Test (AST, ALT, ALP, GGT, Total Bilirubin, Direct Bilirubin, Albumin, Globulin)
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- การทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ฮอร์โมนไทรอยด์ Free T3 (Triiodothyronine Free T3)
- ฮอร์โมนไทรอยด์ Free T4 (Thyroxine Free T4)
- ประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจขาดเลือด (Troponin-l)
- ตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยสารบ่งชี้ชนิดใหม่ (PIVKA-II and AFP)
- ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA (Prostatic Specific Antigen)
- ตรวจคัดกรองเลือดและการอักเสบในอุจจาระ (Fecal Occult Blood & Inflammation Screening)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- อัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน-ล่าง (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจองค์ประกอบร่างกาย (Body Composition)
- ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index)
- ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกบั้นเอวและสะโพก (Bone Dens Lumbar Hip)
- ตรวจระดับแคลเซียมผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring)
- ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและไขมันสะสมในเนื้อตับ (Fibro Scan)
ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ไหนดี ?
สำหรับคนที่ลังเลว่าจะเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ไหนดีที่เหมาะสมกับตนเองนั้น ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
อายุ
อายุ เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพ เนื่องจากความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ มักเพิ่มขึ้นตามอายุ เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อาจต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม
เพศ
เพศชายและหญิงมีความเสี่ยงต่อโรคบางชนิดแตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในขณะที่ผู้ชายต้องตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
ประวัติความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว
หากมีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือมะเร็งบางชนิด ควรเลือกโปรแกรมที่มีการตรวจคัดกรองโรคเหล่านี้เพิ่มเติม
พฤติกรรมและอาชีพ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือลักษณะการใช้ชีวิตและอาชีพ ที่มีผลต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น ผู้ที่ทำงานออฟฟิศนั่งนาน ๆ อาจต้องการตรวจสุขภาพกระดูกและข้อ หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี และเสี่ยงที่จะสูดดมสารเคมีเข้าไปเป็นประจำ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
ความคุ้มค่าของโปรแกรม
สิ่งสำคัญประการสุดท้าย คือควรเลือกโปรแกรมที่คุ้มค่า ทั้งในแง่ของความครอบคลุมและค่าใช้จ่าย เพราะบางครั้งการลงทุนในโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ละเอียดและครบถ้วน ถึงจะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็ช่วยให้สามารถตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
คงได้คำตอบกันแล้วว่าควรตรวจสุขภาพที่ไหนดี และสำหรับใครที่กำลังมองหาโปรแกรมตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลเอกชน สามารถเลือกใช้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพ ที่ครอบคลุมทั้งการตรวจขั้นพื้นฐาน และการตรวจพิเศษเพื่อคัดกรองโรคร้ายแรง ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี โทร. 033-038871