033-038-888

การใส่ลูก Gastric Balloon ในกระเพาะอาหาร

(คลินิกลดน้ำหนัก ให้บริการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน) ผู้เขียนบทความ : นายแพทย์ ปารินทร์ ศิริวัฒน์

การใส่ลูก Gastric Balloon ในกระเพาะอาหาร


การทำ Gastric Balloon หรือ การใส่ลูก Gastric Balloon ในกระเพาะอาหาร

 

การลดน้ำหนักมีหลายวิธี บางคนคุมอาหาร บางคนเลือกกินยาลดความอ้วน บางคนเน้นการออกกำลังกาย แต่ถ้าไม่สามารถลดน้ำหนักได้ การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ก็เป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่น่าสนใจและมีการใช้แพร่หลายในปัจจุบัน 

 

การใส่บอลลูน คือ การใส่ลูกบอลลูนที่บรรจุน้ำเข้าไปแทนที่ปริมาตรในกระเพาะอาหาร เพื่อลดปริมาณเนื้อที่ในกระเพาะอาหารที่เหลือ ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้อย่างที่ต้องการ และมีน้ำหนักลดลงในที่สุด 


คนไข้ที่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

คือคนไข้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน คำนวณจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) มากกว่า 27 โดยบอลลูนนี้จะถูกใส่ไว้เพียงชั่วคราวและเอาออกหลังจากใส่ 6 เดือนถึง 1 ปี แต่หากมีน้ำหนักที่ลดลงตามความต้องการแล้ว ก็สามารถนำบอลลูนออกได้ตามเวลาที่คนไข้ต้องการ โดยวิธีเอาบอลลูนออกโดยการปล่อยน้ำในลูกบอลลูนออก และส่องกล้องเพื่อนำลูกบอลลูนออกจากร่างกาย
 

ผลลัพธ์ที่ได้จาก การลดน้ำหนักด้วยบอลลูน 
จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว อิ่มนาน หรืออาจจะอิ่มตลอดเวลา ทำให้ทานได้น้อย สามารถลดน้ำหนักได้ถึง 15-20 กิโลกรัม ในเวลา 1 ปี 

 

ข้อห้ามของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

คือคนไข้ตั้งครรภ์ คนไข้มีภาวะเลือดออกผิกปกติ และคนไข้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นก่อนใส่ทุกครั้งแพทย์จะมีการส่องกล้องสำรวจกระเพาะอาหารว่าปกติดี สามารถใส่ลูกบอลลูนได้หรือไม่  
 

วิธีการใส่บอลลูนทำได้โดยไม่ยาก

เพียงงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ให้คนไข้หลับโดยหมอดมยา ใส่บอลลูนเข้าไปทางหลอดอาหารพร้อมการส่องกล้อง ลงไปจนถึงกระเพาะอาหาร แล้ววางบอลลูนลงไปในตำแหน่งที่เหมาะสม เติมน้ำเข้าไปให้บอลลูนขยายตัวในกระเพาะ ประมาณ 400-500 CC ขึ้นกับการประเมินของแพทย์ผู้ใส่ จากนั้น บอลลูนจะลอยอย่างอิสระในกระเพาะอาหาร จำกัดปริมาณอาหารที่เราทาน ทำให้รู้สึกอิ่ม 

 

อาการและผลข้างเคียงหลังคนไข้ใส่บอลลูน 

ผลข้างเคียงเบื้องต้นหลังใส่ที่พบได้บ่อยคืออาการคลื่นไส้อาเจียน ส่วนผลข้างเคียงที่พบรองลงมาคือ ท้องอืด แน่นท้อง โคยผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องอืดแน่นท้องมาก ในสัปดาห์แรก โดยทางแพทย์และทีมดูแล จะมีการรักษาแบบประคับประคอง ปรับการกินอาหารและมีการให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนในช่วงแรก หลังจากสัปดาห์แรกคนไข้จะมีอาการแก้คลื่นไส้อาเจียนลดลงเริ่มกินอาหารได้และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

การปฏิบัติตัวของคนไข้หลังใส่บอลลูนจำเป็นจะต้องมีการคุมอาหารที่เหมาะสม กินอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ การได้รับวิตามินเสริมบางตัวและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการลดน้ำหนัก

 

การลดน้ำหนักโดยการปรึกษาและพบแพทย์ผู้เชียวชาญจะทำให้การลดนำหนักมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

 

ด้วยความปรารถนาดี

นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์  อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร  รพ.สมิติเวชชลบุรี

ปรึกษาเกี่ยวกับการใส่บอลลูน

ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ 033-038959
หรือ Add Line : https://maac.io/2H1fQ (บอลลูนกระเพาะอาหาร)





icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด
ไม่พบข้อมูล